ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ..เว็บบล็อกครูบุญมา คล้ายปลื้มรัก.... boonma37.blogspot.com

.....เว็บบล็อกครูบุญมา สร้างเมื่อ 27 กันยายน 2552 ม.วิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง





อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ วิวรรธน์ จันทร์เทพย์









ยินดีต้อนรับ

..ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อก..ครูบุญมา คล้ายปลื้มรัก..ทุกท่านค่ะ..

โครงการสอน

โครงการสอนวิชาภาษาและเทคโนโลยีฯ
รหัสวิชาGD ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู 3 (1-2-3)ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552อาจารย์ผู้สอน ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง****************************************************คำอธิบายรายวิชา (เนื้อหา)ศึกษาและฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ท และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อการสื่อความหมาย โดยเน้นกระบวนการ ทักษะสัมพันธ์ทางภาษา ตลอดจนศึกษาและฝึกการตีความ การขยายความ การสรุปความ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนองานทางวิชาการหัวข้อที่จะเรียนกันจุดประสงค์.........เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้วจะมีพฤติกรรมและความสามารถดังต่อไปนี้
.........1. อธิบายความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูได้
.........2. อธิบายและปฏิบัติการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต สำหรับครูได้
.........3. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาเนื้อหา
........หน่วยที่ 1........เทคโนโลยีพื้นเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู เนื้อหา
........หน่วยที่ 2........คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เนื้อหา
........หน่วยที่ 3........อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสืบค้น เนื้อหา
........หน่วยที่ 4........เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล เนื้อหา
........หน่วยที่ 5........ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล เนื้อหา

จักสาน

จักสาน

......เศรษฐกิจพอเพียง.......

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html

กิจกรรมจักสานไม้ไผ่

ไหว้ครู

วันเด็ก 55


ไปน่ารักไกลๆหน่อย